ระดับของโปรตีนเอ็มเอ็มพี-1 โปรตีนเอ็มเอ็มพี-9 และโปรตีนทีไอเอ็มพี-1 ในบาดแผลเรื้อรังที่เท้า จากภาวะเบาหวาน
(The levels of MMP-1, MMP-9 and TIMP-1 proteins in chronic diabetic foot ulcer)
ภัสรา อาณัติ
ภาควิชาชีวเคมี ชั้น 5 อาคารเจ้าฟ้าเพชรรัตน วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
เลขที่ 317 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี จังหวัดกรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10400
โทรศัพท์: +66 (0) 83 619 8689 Email: pasra@pcm.ac.th, pasra@hotmail.com
ผลประโยชน์ทับซ้อน: ผู้นิพนธ์แจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในเนื้อหาของบทความนี้
ส่งต้นฉบับ: |
วันที่ 23 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 |
รับลงตีพิมพ์: |
วันที่ 6 เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 |
ตีพิมพ์เผยแพร่: |
วันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 |
เบาหวาน (Diabetic mellitus) เป็นโรคเรื้อรังทางสาธารณสุขที่สำคัญโรคหนึ่งในปัจจุบัน โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยของโรคนี้คือการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า (Diabetic foot ulcer) สามารถพบได้ถึงร้อยละ 15 ของผู้ป่วยเบาหวาน และคิดเป็นร้อยละ 84 ของผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องได้รับการตัดขา(1,2) สาเหตุการเกิดแผลเบาหวานเรื้อรังจากโรคเบาหวานคือ การสูญเสียสภาพ (Impairment) ของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ (Macrocirculation) หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก (Microcirculation) และระบบเส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory nerve) ทั้งนี้การสมานบาดแผล (Wound healing) ในภาวะปกติของร่างกายจะมีการสร้างเอ็นไซม์ Matrix metalloproteinases (MMPs) ซึ่งเป็นกลุ่มของเอ็นไซม์ที่สร้างจากเซลล์หลายชนิด และมีบทบาทในกระบวนการจัดโครงร่างเนื้อเยื่อโดยเปลี่ยนแปลงสภาวะรอบนอกเซลล์ด้วยการย่อยสารประกอบโปรตีนนอกเซลล์ (Extracellular matrix)
โปรตีน MMPs แบ่งเป็นหลายชนิดขึ้นอยู่กับสารตั้งต้นที่จำเพาะกับเอ็นไซม์ชนิดนั้น ๆ จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าโปรตีน MMP-1 และโปรตีน MMP-9 มีบทบาทสำคัญต่อการสมานบาดแผลเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งนี้ระดับของโปรตีน MMP-1 ที่สูงขึ้นจะช่วยในการสมานบาดแผล ขณะที่ระดับของโปรตีน MMP-9 ที่มากเกินไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อกระบวนการสมานบาดแผล โดยทำให้กระบวนการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ไม่เป็นไปตามปกติ นอกจากนี้โปรตีน Tissue inhibitor of metalloproteinase-1 (TIMP-1) จะทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของโปรตีน MMP-1 และโปรตีน MMP-9 จึงเป็นกลไกที่ควบคุมความสมดุลของกระบวนการสมานบาดแผล(3,4) และยังมีการศึกษาพบว่าโปรตีน MMP-1 และโปรตีน MMP-9 มีบทบาทสำคัญต่อการหายของแผลเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน โดยอัตราส่วนระหว่างโปรตีน MMP-1 กับโปรตีน TIMP-1 ที่เพิ่มสูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับการหายของบาดแผลที่ดีขึ้น(5) แม้กระนั้นก็ตามอัตราส่วนระหว่างโปรตีน MMP-9 กับโปรตีน TIMP-1 ในน้ำเหลืองเลือด (Serum MMP-9/TIMP-1) ที่มากเกินไปมีความสัมพันธ์ในการทำนายการหายของบาดแผลที่ช้าลง(6)
เอกสารอ้างอิง
- American Diabetes Association. Diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes care 2004; 27(1): 5-10.
- Stanley S, Turner L. A collaborative care approach to complex diabetic foot ulceration. Br J Nurs. 2004; 13(13): 788-93.
- Rayment EA, Upton Z, Shooter GK. Increased matrix metalloproteinase-9 (MMP-9) activity observed in chronic wound fluid is related to the clinical severity of the ulcer. Br J Dermatol. 2008;158(5): 951-61.
- Trengove NJ, Stacey MC, MacAuley S, et al. Analysis of the acute and chronic wound environments: the role of proteases and their inhibitors. Wound Repair Regen. 1999; 7(6): 442-52.
- Muller M, Trocme C, Lardy B, Morel F, Halimi S, Benhamou PY. Matrix metalloproteinases and diabetic foot ulcers: the ratio of MMP-1 to TIMP-1 is a predictor of wound healing. Diabet Med 2008; 25(4): 419-26.
- Li Z, Guo S, Yao F, Zhang Y, Li T. Increased ratio of serum matrix metalloproteinase-9 against TIMP-1 predicts poor wound healing in diabetic foot ulcers. J Diabetes Complications. 2013; 27(4): 380-2.